บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

อนุปัสนา


บทความนี้ต้องการที่จะเสนอว่า  การที่พระพม่าและสาวก “พิจารณาอิริยาบถใหญ่-อิริยาบทย่อยให้เป็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา” ไม่ได้เป็นทั้งวิปัสสนา และแม้ “อนุปัสสนา” ก็ไม่ใช่

เรียกว่า ผิดซ้ำผิดซาก ผิดแบบงี่เง่าค่อนข้างไปทางโง่เสียด้วย

เนื้อหาที่จะนำมาเป็นตัวอย่างนี้ มาจากหนังสือ วิปัสสนาธุระ ของท่านพระอาจารย์ ดร. ภัททันตา อาสภมหาเถระ เริ่มที่หน้า 172 –179  

อนิจจานุปัสสนา

อนิจจานุปัสสนา ปัญญาที่ พิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงของรูป-นาม ที่เนื่องมาจาก การเห็นเป็นประจักษ์ แห่งการเกิดขึ้น และดับไป ในขณะที่กำหนดรูปนามอยู่นั่นแหละ

ปัญญานี้ ได้ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา


คำว่า “พิจารณาเห็น” ดังกล่าวเป็นการแปลที่ไม่ถูกต้อง เพราะ คนที่แปลไม่เชื่อว่า “มีการเห็น” ในการปฏิบัติธรรม 

ความเชื่อดังกล่าวไม่ได้มาจากศาสนาพุทธเอง แต่พวกนั้นเชื่อ “วิทยาศาสตร์มากกว่าศาสนาพุทธ

ว่า “พิจารณาเห็น” ควรแปลว่า “ตามเห็น” หรือ “เห็นเนืองๆ” จะถูกต้องมากกว่า 

การแปลดังกล่าวนั้น  ยึดถือตามพจนานุกรม  กล่าวคือ คำว่า “อนุ” ในภาษาบาลีนั้น แปลเป็นภาษาไทย ดังนี้

อนุ คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า
น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย,
ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง,
ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม,
เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ สอนเนืองๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

คำว่า “อนุ” พจนานุกรมไม่ได้แปลว่า “พิจารณา

ดังนั้น ถ้ายึดกันตามพจนานุกรมกันอย่างจริงจังแล้ว  อนุปัสสนา ควรแปลว่า “ตามเห็น” หรือ “เห็นเนืองๆ” จะเหมาะสมว่า “พิจารณาเห็น

นอกจากนั้นแล้ว คำว่า “พิจารณาเห็น” นั้น พวกโง่ๆ จำนวนมาก ตีความผิดๆ ไปอีกเป็น “เข้าใจ” หรือ “รู้” โดย “ไม่มีการเห็น

ซึ่งความหมายผิดไปจาก คำว่า “อนุปัสนา” อย่างหน้ามือเป็นหลังเท้าทีเดียว

หลักฐานที่แสดงในเห็นว่า พระพม่าไม่รู้ ไม่เข้าใจในเรื่องนี้ก็คือ พอเห็นอะไรขึ้นมาในระหว่างปฏิบัติธรรม  ท่านก็ให้พิจารณาว่า “เห็นหนอ เห็นหนอ” ให้ “การเห็น” นั้นหายไป

แล้วมันจะเป็น “พิจารณาเห็น” หรือ “ตามเห็น” ได้อย่างไร  โง่กันทั้งพระพม่า และลูกศิษย์

เอาหลักฐานอีกแห่งหนึ่งจาก http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/076.htm

อนุปัสสนา

อนุปัสสนา แปลว่า ตามเห็น ตามดูให้เห็นแจ้ง หรือดูบ่อยๆ ซึ่งก็มี ๓ อย่างเหมือนกัน ดังมีคาถาที่ ๑๖ แสดงว่า

๑๖. อนิจฺจานุปสฺสนา จ ตโต ทุกฺขานุปสฺสนา อนตฺตานุปสฺสนา ติ ติสฺโส อนุปสฺสนา ฯ แต่นั้นพึงทราบ อนุปัสสนา ๓ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา

มีความหมายว่า พระโยคาวจร ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีความเพียร หมั่นตั้งสติ มีสมาธิมั่นคง ไม่เผลอ บังเกิดปัญญา

เห็นแจ้งรูปธรรม นามธรรม มีความเกิดดับเป็นลักษณะ ปรากฏให้เห็นตามความเป็นจริงแห่งสภาวธรรมว่า

เป็น อนิจจัง - ไม่เที่ยง - จึงต้องดับไป ๆ
เป็น ทุกขัง - ทนอยู่ไม่ได้ - จึงต้องดับไป ๆ
เป็น อนัตตา - บังคับบัญชาไม่ได้ - จึงต้องดับไปๆ อยู่ทุกขณะ

ต่อแต่นี้ไปพระโยคาวจรพึงพิจารณาด้วยปัญญา ตามเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ อย่าง คือ

๑. อนิจจานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ว่าไม่เที่ยง เหมาะใจในการดูอนิจจัง เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย สีล

๒. ทุกขานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะ ว่าทนอยู่ไม่ได้ เหมาะใจในการดูทุกขัง เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย สมาธิ

๓. อนัตตานุปัสสนา ตามเห็นรูปธรรมนามธรรม ที่เกิดดับอยู่ทุกขณะว่า บังคับบัญชาไม่ได้ เหมาะใจในการดูอนัตตา เพราะบุญญาธิการแต่ปางก่อนแรงด้วย ปัญญา

การกำหนดจนเห็นไตรลักษณ์นี้ ย่อมเห็นแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ว่าจะเห็นทั้ง ๓ อย่าง

เมื่อเห็นอย่างใดก็ได้ชื่อว่า เห็นแจ้งทั้ง ๓ อย่าง เพราะทั้ง ๓ อย่างนี้มีลักษณะที่สมคล้อยกัน กล่าวคือ

เพราะไม่เที่ยง จึงทนอยู่ไม่ได้ ที่ทนอยู่ไม่ได้ก็เพราะไม่เที่ยง ถ้าเที่ยงก็ทนอยู่ได้ ถ้าทนอยู่ได้ก็ถือว่าเที่ยงได้

ที่ไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ ก็เพราะบังคับบัญชาว่ากล่าวไม่ได้ ถ้าบังคับบัญชาว่ากล่าวได้ ก็จะบังคับบัญชาให้เที่ยงให้ทนอยู่ได้

เมื่อเห็นลักษณะใด ก็ตามดูลักษณะนั้นเรื่อยไป และนับตั้งแต่ได้เห็น ไตรลักษณ์ แห่งรูปนามเป็นต้นไป ได้ชื่อว่ามีปัญญาถึงขั้น วิปัสสนาญาณ แล้ว

ข้อความที่ยกมานั้น ไม่ถูกในหลายประเด็น แต่ที่ผมจะเน้นในบทความนี้ก็คือ จะเห็นว่า บทเรียนของพระอภิธรรม ซึ่งพระพม่ากับสาวก นับถือนัก นับถือหนา  ก็บอกว่า การพิจารณาพระไตรลักษณ์ต้องเห็น

แต่ก็อีกนั่นแหละ  ขนาดเขียนเองว่า “ตามเห็น” แต่พวกท่านก็ “ไม่ยอมเห็น”  พวกพระพม่านี่ก็โง่กันจริงๆ 

สรุปได้ว่า พระพม่านั้น นอกจากจะฉันทั้งวันแล้ว  ถูกต้องตัวผู้หญิงได้แล้ว  ยัง “โง่” อีก

คนไทยที่ไปเชื่อพระพม่า มันจะโง่ขนาดไหนก็คิดกันเอาเอง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น