บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

cantona_z โดนเข้าบ้าง


ผมได้เกริ่นนำไปแล้วว่า มีคนตั้งกระทู้ที่พันธุ์ทิพย์ว่า “ทางสายเดียว/ทางสายเอกอย่างไร” และผมได้วิพากษ์วิจารณ์ไปบทความหนึ่งแล้ว วันนี้มาว่ากันต่อ

ขอทวนเนื้อความของกระทู้ก่อน ดังนี้

สายปฏิบัติธรรมแนวสติปัฏฐาน มักจะบอกว่า สติปัฏฐานเป็นทางสายเดียว หรือ ทางสายเอก ที่จะไปนิพพาน

เป็นทางสายเดียว หรือ ทางสายเอก อย่างไร เพราะมีถึง 4 หัวข้อ?

คนที่เข้ามาเป็นคนแรกเลยก็คือ คุณเฉลิมศักดิ์ 1 ผมได้วิพากษ์วิจารณ์ไปแล้ว ต่อมาคือ คุณ cantona_z เข้ามาให้ความเห็นดังนี้

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0

ต้องมองที่ concept ก่อนครับ

ถามว่า เราทำสติปัฏฐานเพื่ออะไรครับ

ตอบว่า ทำเพื่อสร้างสติให้เกิดขึ้นทันต่อเหตุการณ์ เมื่อสติรู้ทัน ก็จะเห็นสิ่งที่เกิดนั้นตามด้านใดด้านหนึ่งของไตรลักษณ์

ถามว่า เห็นตามไตรลักษณ์ไปทำไม

ตอบว่า เห็นแล้วจะได้ลดละความยึดมั่นถือมั่นในกายใจได้ จะได้เกิดปัญญาละอวิชชาออกไปจากจิต

เหมือนเรามีแฟน แฟนเรามีกิ๊ก ใครบอกก็ไม่เชื่อ ก็ยังรักแฟนเหมือนเดิม

วันนึงกลับบ้านเร็ว เปิดประตูเห็นแฟนกำลังบะบะกับกิ๊กพอดี ไอ้ความรักปานจะแหกตูดดม มันก็หายไปทันตา

ที่เรารักกายใจ เพราะเราคิดว่ากายใจนี้เป็นของเรา เมื่อรู้จริงๆแล้วว่ากายใจนี้ไม่ใช่ของเรา เราก็หมดรักไปเอง

อันนี้เคลียร์นะครับ

ทีนี้มาดูมหาสติปัฏฐานทำไมมี  4  ทาง แล้วเรียกทางสายเอก  ก็เพราะทางสายเอกนี้ จริงๆ แล้วมีจุดหมายปลายทางอย่างเดียวคือสร้างสติให้ทันต่อเหตุการณ์ ช่องทางที่จะสร้างสติให้เกิดมันมี  4 ช่องทางครับ คือกาย เวทนา จิต ธรรม

ทางกาย เกิดกายสังขาร เมื่อเคลื่อนไหว เมื่อตามรู้ตามดูธาตุขันธ์ สติก็เกิด ทางเวทนา เมื่อเกิดทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุข เมื่อตามรู้ตามดูทัน สติก็เกิด ทางจิตและทางธรรมารมณ์ก็เช่นกัน เมื่อเกิดอารมณ์ต่างๆขึ้น แล้วเรารู้สึกตัวได้ทัน สติก็เกิด

เมื่อฝึกฝนจนสติกล้าแข็งมากๆ ทีนี้พอเกิดเหตุการณ์เดิมๆ สติมันเกิดเอง ไม่ต้องไปบังคับ ไม่ได้แยกด้วยว่าต้องดูกายเท่านั้น หรือดูจิตเท่านั้น

เวลานั้นๆ อะไรเกิดตรงไหน สติก็เกิดรู้ตรงนั้น กายเคลื่อน สติก็เกิดดูกาย จิตโกรธ สติก็เกิดรู้ว่าจิตกำลังโกรธ เป็นต้น

พอสติเกิดมากๆเข้า ทีนี้ปัญญาที่จะเห็นกายใจลงไตรลักษณ์ก็จะเกิดขึ้น เรียกว่าวิปัสสนาญาณก็ไล่ไปเรื่อยๆตามลำดับครับ

จริงๆ ในความเห็นผม ทางสายนี้ควรแปลว่าทางสายเอก มากกว่าทางสายเดียวนะ

เพราะทางอื่นๆ ที่จะบรรลุก็มี ไม่ใช่ไม่มี พระอรหันต์ยุคพุทธกาลที่ไม่ได้เจริญสติปัฏฐานก็เยอะแยะเหมือนไปเชียงใหม่ ก็ไปได้หลายทาง ไม่ใช่ทางเดียวซะหน่อย

แต่ว่าทางสายนี้มันครบถ้วนสมบูรณ์ ทางโล่ง ทางสะดวก ทางใหญ่ ไปง่าย ทำนองนั้น


คุณ cantona_z ก็จะคล้ายกับคนในพันธุ์ทิพย์ส่วนใหญ่ คือ ศึกษาไม่มากนัก อ่านแล้วก็จำเขามา  แต่เป็นโรคจิต อยากจะออกความเห็น 

ส่วนใหญ่แล้ว จะไปเขียนเองให้เป็นเรื่องเป็นราว ก็ความรู้ไม่พอ ยังเพิ่งหัดใหม่  ก็จึงมาเฝ้าในพันธุ์ทิพย์นี่แหละ ว่าจะมีกระทู้ให้ออกความเห็นแก้เครียด แก้บ้าได้บ้าง

แต่ความเห็นนั้น ไม่ได้ตอบไปที่คำถามโดยตรง

เจ้าของกระทู้จึงถามกลับไปอีกครั้งว่า

คุณ cantona_z ตอบอย่างนี้ ใกล้ประเด็นที่อยากจะได้ความรู้  คุณ cantona_z บอกว่า

ทีนี้มาดูมหาสติปัฏฐานทำไมมี 4 ทาง แล้วเรียกทางสายเอก ก็เพราะทางสายเอกนี้ จริงๆ แล้วมีจุดหมายปลายทางอย่างเดียวคือสร้างสติให้ทันต่อเหตุการณ์ ช่องทางที่จะสร้างสติให้เกิดมันมี 4 ช่องทางครับ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

ทางกาย เกิดกายสังขาร เมื่อเคลื่อนไหว เมื่อตามรู้ตามดูธาตุขันธ์ สติก็เกิด ทางเวทนา เมื่อเกิดทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุข เมื่อตามรู้ตามดูทัน สติก็เกิด ทางจิตและทางธรรมารมณ์ก็เช่นกัน เมื่อเกิดอารมณ์ต่างๆ ขึ้น แล้วเรารู้สึกตัวได้ทัน สติก็เกิด

แล้วมันเป็นทางสายเดียวกันอย่างไร  ที่คุณ คุณ cantona_z อธิบายมามันก็เป็น  4  ทาง ไม่ใช่ทางสายเดียว

คุณ cantona_z ก็ยังขยันเข้ามาให้ความเห็นอีก ดังนี้

ทางสายเอก คือ สร้างฐานให้สติ คือ สติปัฏฐาน ใครถนัดช่องทางไหนก็เลือกช่องทางนั้น

ท่านถึงกล่าวในอรรถกถาว่า กาย กับเวทนา เหมาะกับสมถยานิก จิตกับธรรม เหมาะกับวิปัสสนายานิก

แต่ถึงตอนท้ายอะไรเกิดก็ต้องดูไอ้นั่น

ตรงนี้ขออธิบายคั่นไว้ก่อน ดังนี้

เจ้าของกระทู้เขาต้องการทราบว่า สติปัฏฐาน  4  นั้น มี  4 ประเภทใหญ่ๆ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม นั้น เป็นทางสายเดียว/ทางสายเอกอย่างไร เพราะ ใครๆ ก็กล่าวว่า สติปัฏฐาน  4  เป็นทางสายเดียว ทางสายเอก

คนที่เข้ามาตอบนั้น  “ไม่เคยตอบคำถาม” แต่อธิบายไปเรื่องอื่น  อธิบายว่า สติปัฏฐาน  4 คือ การสร้างสติบ้าง 

คำตอบนี้ ไม่ได้ตอบคำถาม

ที่ คุณ cantona_z ตอบไปข้างบนว่า

ทางสายเอก คือ สร้างฐานให้สติ คือ สติปัฏฐาน ใครถนัดช่องทางไหนก็เลือกช่องทางนั้น ท่านถึงกล่าวในอรรถกถาว่า กาย กับเวทนา เหมาะกับสมถยานิก จิตกับธรรม เหมาะกับวิปัสสนายานิก

นั่นก็ไม่ได้ตอบคำถาม เพราะ ยังบอกไม่ได้ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นทางสายเดียวอย่างไร

เจ้าของกระทู้ยังไม่ทันตอบอะไร คุณ สมาชิกหมายเลข  787079  เข้ามาให้ความเห็นว่า

เคยไปปฏิบัติมั๊ยครับ หรือสนใจจะไปครับถึงได้อยากรุ้คำตอบ ส่วนไอ้  4 หัวข้อเนี่ย มันหมายถึง ฐาน  4 ที่ที่เอาสติไปตั้งครับ

เจ้าของกระทู้ก็ถาม คุณสมาชิกหมายเลข 787079 ว่า

อยากจะทราบรายละเอียดเพิ่มเติมอีกสักนิดหนึ่ง คือ ฐาน  4  ฐานแล้วเอาสติไปตั้งนั้นเป็นอย่างไร เหมือนฐานของตึกหรือเปล่า?

 คุณ cantona_z ก็ยังขยันอีก เข้ามาให้ความเห็นอีก ดังนี้

เอาง่ายๆ เวลาคุณกินอาหาร คุณรู้สึกตอนที่คุณเคี้ยว รู้สึกตอนที่คุณกลืน รึปล่าว ถ้ารู้สึก แปลว่า เวลานั้น คุณมีสติ ถ้าไม่รู้สึกแปลว่าเวลานั้น คุณไม่มีสติ

เป้าหมาย คือ สร้างสติให้เกิดตลอดเวลา เป็นมหาสติ เกิดอะไรรู้หมด นั่งอยู่รู้ว่านั่ง ยืนรู้ว่ายืน โกรธรู้ว่าโกรธ เผลอรู้ว่าเผลอ

พอรู้ทันก็จะเห็นได้ว่า กายใจเป็นไตรลักษณ์

เจ้าของกระทู้ก็ถาม คุณ cantona_z ว่า

ผมพอจะเข้าใจประเด็นสติของสติปัฏฐาน  4  คือ มีสติตลอด แต่สติของกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นทางสายเดียวอย่างไร ก็มีตั้ง  4  ประเภท

คุณ cantona_z ก็หายเงียบไปพักหนึ่ง  และมาให้ความเห็นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผมจะวิพากษ์วิจารณ์ในบทความต่อไป 

ในบทความนี้ จึงจะขอสรุปว่า

ไม่มีใครในสายสติปัฏฐาน  4  เข้าใจ และสามารถอธิบายได้ว่า สติปัฏฐาน  4  เป็นทางสายเดียว/ทางสายเอกอย่างไร

สำหรับผมแล้ว  ผมเห็นด้วยกับข้อความที่ว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเดียว/ทางสายเอก เพราะ พระไตรปิฎกเขียนไว้อย่างนั้น

ประเด็นนี้

ในทางวิชาธรรมกายก็สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า สติปัฏฐาน  4  เป็นทางสายเดียว/ทางสายเอกอย่างไร

แต่สายวิชาธรรมกายก็ไม่ได้เน้นไปที่สติปัฏฐาน  4  อย่างที่สายอื่นๆ นิยมกระทำกัน เพราะ สติปัฏฐาน  4 เป็นเพียงพื้นฐานเท่านั้น

ขอย้ำว่า เป็นพื้นฐานที่สำคัญด้วย แต่ถ้าพิจารณาอยู่เฉพาะสติปัฏฐาน  4  ก็ไม่ต้องไปไหนกัน

ย่ำเท้าอยู่กับที่อย่างนั้น เพราะ ถ้าต้องการจะบรรลุพระอรหันต์ ก็ต้องใช้วิชชา  3 ไม่ใช่สติปัฏฐาน  4.....




2 ความคิดเห็น:

  1. เรียนถามท่านอาจารย์ครับ ความหมายของพระไตรปิฎกนี่คือสติปัฏฐาน 4ให้เจริญเพื่อให้ใด้วิชชา3 ก่อนแล้วจึงเดินวิชชาตามดวงธรรมต่างๆใช่หรือเปล่าครับ

    ตอบลบ
  2. วิชา 18 กายนั้น เราต้องทำวิชาผ่านกายต่างๆ ไป-กลับ (อนุโลม-ปฏิโลม) อย่างน้อย 7 เที่ยวเพื่อทำให้กายใส

    กายจะผ่านกายต่างๆ ไปได้ ก็ต้องผ่านดวงธรรม 6 ดวงก่อน

    เมื่อทำวิชา 18 กาย ไป-กลับแล้ว จนกายและใจใสดีแล้ว ก็ถึงไปเรียนหัวข้อธรรมะอื่นๆ เช่น โพธิปักขยธรรม

    ในการเรียนนั้น บารมี 30 ทัศของเราก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อบารมี 30 ทัศเต็มเมื่อไหร่ เราถึงจะบรรลุพระอรหันต์ได้

    ในการบรรลุพระอรหันต์นั้น ก็จะต้องบรรลุด้วยวิชชา 3 จะบรรลุด้วยวิชาอื่นไม่ได้

    โดยสรุป ในทางวิชาธรรมกาย ก็ต้องเรียนหัวข้อธรรมะ (ปฏิบัติ) ทั้ง 84,000 พระธรรมขันธฺุ์ เรียนแล้ว เรียนอีกๆๆๆๆๆๆๆ

    จนกว่าบารมี 30 ทัศจะเต็ม

    ถ้าตอบไม่ตรงกับคำถาม ให้ถามมาใหม่

    ตอบลบ