เท่าที่สนใจในการสอนของพระพม่า
รวมถึงบวชที่วัดอัมพวัน 1 พรรษา ผมค่อนข้างจะ “เซ็งในชีวิตกับความมั่ว มึน งมงาย”
พวกสาวกพระพม่าเหลือเกิน
ผลิตผลในทางองค์ความรู้ที่ออกมาจากกลุ่มบุคคลพวกนี้ “ไม่มีความเป็นเหตุเป็นผลในทางวิชาการ”
แม้แต่น้อย
โดยสรุปรวมยอดแล้ว
พระพม่าและสาวก ปฏิบัติธรรมอยู่แค่ “พิจารณาอิริยาบถใหญ่-อิริยาบทย่อยให้เป็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา”
ทำอยู่แค่นี้ เป็นปี เป็นสิบปี
ไม่เคยทำไปมากกว่านี้
พอทำแค่นี้แล้ว
ก็เพ้อ ก็ฝัน หันรีหันขวาง จับการปฏิบัติของตน เป็นนู่น เป็นนี่ไปเรื่อย
ไม่ได้มีหลักฐานจากพระไตรปิฎก มั่วกันลูกเดียว
วันนี้เอาหลักฐานมาเผยแพร่ ได้มาจาก รายงานเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์เรื่องเอกายนมรรคในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา”
โดยนายปรีชา บุญศรีตัน นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คุณปรีชา
บุญศรีตัน จะศึกษาเรื่อง “เอกายนมรรค”
แล้วก็พบว่า เอกายนมรรคนั้น ไม่ได้มีแค่สติปัฏฐาน 4 ยังมีหัวข้อธรรมะอื่นๆ อีก
ที่สำคัญเลยก็คือ สติปัฏฐาน 4 กับ โพธิปักขยธรรม
ทีนี้ในการศึกษากันอย่างเป็นวิชาการนั้น
บางทีเราไม่สามารถจะศึกษาทั้งหมดได้ อย่างเช่นรายงานฉบับดังกล่าว
จึงต้องเลือกศึกษาแค่หัวข้อใด หัวข้อหนึ่ง
แล้วท่านผู้อ่านคอยดูว่า
ในการเลือกศึกษาประเด็นเรื่อง “เอกายนมรรค”
นี้ คุณปรีชา บุญศรีตัน มีเหตุผลของท่านอย่างไร
ผู้วิจัยจึงเลือกเอาหลักสติปัฏฐานมาศึกษาวิเคราะห์ เพราะสติปัฏฐาน
4 นี้พระพุทธเจ้าตรัสด้วยพระองค์เองว่า เป็นเอกายนมรรคและอยู่ในรูปของพระพุทธพจน์ประการหนึ่ง
ประการที่สอง ผู้วิจัยเห็นว่า
ในสติปัฏฐาน 4 นี้ได้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมหลักธรรมอื่นๆ คือ
อริยมรรคมีองค์ 8 ก็ดี โพธิปักขิยธรรม 37 ก็ดีรวมอยู่ในสติปัฏฐาน 4 แล้ว
นอกจากนี้ สติปัฏฐาน 4
นี้ยังเป็นหลักปฏิบัติที่หลักการและวิธีการในการปฏิบัติที่เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา
ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติว่า จะมีเป้าหมายในการปฏิบัติไปในแนวทางไหน
คือ
จะใช้หลักการปฏิบัติในสติปัฏฐานมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบใจก็ได้ หรือจะใช้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาก็ได้
เพราะถ้าการปฏิบัติธรรมที่เป็นเพียงการพิจารณาโดยไม่ได้ยกขึ้นสู่หลักไตรลักษณ์เพื่อให้เห็นความไม่เที่ยง
ความไม่คงทนและความไม่เป็นตัวตนแล้วของสิ่งเหล่านั้น
การปฏิบัติเช่นนี้ถือว่ายังอยู่ในบริบทของสมถกรรมฐานอยู่
เมื่อใดมีการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม โดยยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์
จึงจะได้ชื่อว่า เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
|
เมื่อผมอ่านเหตุผลของคุณปรีชา
บุญศรีตันแล้ว และก็อ่านบทความฉบับมาเป็นสิบๆ เที่ยวแล้ว วิชานี้ ผมให้ D แก่คุณปรีชา
อยากจะให้
F เสียด้วยซ้ำ แต่เห็นว่า รายงานนี้ ยังมีความเป็นรายงานอยู่ แต่คนทำ “ไม่เป็นกลาง” เสือกไปเชื่อพระพม่า
แล้วจึงทำบทความอย่างนี้ออกมา
ขอวิพากษ์วิจารณ์เป็นส่วนๆ
ไป
ผู้วิจัยจึงเลือกเอาหลักสติปัฏฐานมาศึกษาวิเคราะห์
เพราะสติปัฏฐาน 4 นี้พระพุทธเจ้าตรัสด้วยพระองค์เองว่า เป็นเอกายนมรรคและอยู่ในรูปของพระพุทธพจน์ประการหนึ่ง
|
เหตุผลนี้
ก็มั่วสุดๆ เพราะ โพธิปักขิยธรรม 37 ก็เป็นพุทธพจน์
ประการที่สอง ผู้วิจัยเห็นว่า ในสติปัฏฐาน 4 นี้
ได้มีเนื้อหาที่ครอบคลุมหลักธรรมอื่น ๆ คือ อริยมรรคมีองค์ 8
ก็ดี โพธิปักขิยธรรม 37 ก็ดีรวมอยู่ในสติปัฏฐาน
4 แล้ว
|
อันนี้แหละมั่วสุดๆ มั่วจนไม่รู้จะบรรยายอย่างไร ข้อให้ดูตารางนี้
หัวข้อธรรมะ
|
รายละเอียดของหัวข้อธรรมะของโพธิปักขยธรรม
|
มรรค 8
|
1.
สัมมาทิฏฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ 3. สัมมาวาจา 4. สัมมากัมมันตะ 5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ 7. สัมมาสติ 8. สัมมาสมาธิ
|
โพชฌงค์ 7
|
1.
สติสัมโพชฌงค์ 2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ 3.
วิริยสัมโพชฌงค์ 4. ปีติสัมโพชฌงค์ 5.
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ 6. สมาธิสัมโพชฌงค์ 7.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
|
พละ 5
|
1.
สัทธาพละ 2. วิริยะพละ 3. สติพละ 4. สมาธิพละ 5. ปัญญาพละ
|
อินทรีย์ 5
|
1.
สันธินทรีย์ 2. วิริยินทรีย์ 3. สตินทรีย์ 4. สมาธินทรีย์ 5. ปัญญินทรีย์
|
อิทธิบาท 4
|
1.
ฉันทะ 2. วิริยะ 3. จิตตะ 4. วิมังสา
|
สัมมัปปธาน 4
|
1.
สังวรปธาน 2. ปหานปธาน 3. ภาวนาปธาน 4. อนุรักขนาปธาน
|
สติปัฏฐาน 4
|
1.
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน 4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
|
สติปัฏฐาน 4 นั้น
อยู่ในโพธิปักขยธรรม ไม่ใช่ โพธิปักขยธรรม อยู่ในสติปัฏฐาน 4
นอกจากนี้ สติปัฏฐาน 4
นี้ยังเป็นหลักปฏิบัติที่หลักการและวิธีการในการปฏิบัติที่เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา
ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติว่า จะมีเป้าหมายในการปฏิบัติไปในแนวทางไหน
คือ
จะใช้หลักการปฏิบัติในสติปัฏฐานมาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบใจก็ได้
หรือจะใช้เป็นหลักปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาก็ได้
|
อันนี้ก็มั่ว หัวข้อทั้งสมถะ 40 กับวิปัสสนา 71 (ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ
4 ปฏิจจสมุปบาท 12) ไม่มีในสติปัฏฐาน 4
ในกรณีที่หัวข้อธรรมะชื่อเหมือนกัน
ระดับการศึกษาก็ต้องต่างๆ เพราะ อยู่กันคนละหัวข้อธรรมะ
เพราะถ้าการปฏิบัติธรรมที่เป็นเพียงการพิจารณาโดยไม่ได้ยกขึ้นสู่หลักไตรลักษณ์
เพื่อให้เห็นความไม่เที่ยง ความไม่คงทนและความไม่เป็นตัวตนแล้วของสิ่งเหล่านั้น
การปฏิบัติเช่นนี้ถือว่ายังอยู่ในบริบทของสมถกรรมฐานอยู่
เมื่อใดมีการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม โดยยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์
จึงจะได้ชื่อว่า เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
|
ตรงนี้เกือบถูก
คือ ในหลักการถูกต้อง ที่วิธีการผิดโดยสิ้นเชิง เพราะ การพิจารณาพระไตรลักษณ์นั้น
ศัพท์จริงเขาเป็น อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา
อนัตตานุปัสสนา คือ ต้องตามเห็นกันจริงๆ จัง ไม่ใช่คิดไป
โดยสรุป
รายงานฉบับนี้ คนทำ “เชื่อ”
พระพม่าไปก่อน
แล้วจึงพยายามไปหาเนื้อหามาใส่ มันก็เลยมั่วไปหมด
ไม่มีความเป็นเหตุเป็นผลในตัวรายงานนี้เลย
ผมไม่รู้ว่า
คุณปรีชาคนนี้ เรียนจบปริญญาเอกหรือไม่
ผมเดาว่า “ไม่น่าจะจบ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น