บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

เฉลิมศักดิ์ไปไม่เป็น







พระพม่าผู้พัฒนาการปฏิบัติธรรมแบบพองยุบ และโฆษณาว่า การปฏิบัติธรรมของตนเองนั้น เป็นทางเดียวที่จะไปนิพพานได้  การปฏิบัติธรรมอื่นๆ ผิดหมด

การที่โฆษณาว่าการปฏิบัติธรรมแบบพม่าไปนิพพานได้แบบเดียวเท่านั้น พระพม่าได้อาศัย “สติปัฏฐานสูตร” เป็นที่พักพิง 

โดยกล่าวอ้างว่า การปฏิบัติธรรมของตนเองนั้น เป็นสติปัฏฐาน  4 และเป็นทางสายเอก/ทางสายเดียวเท่านั้น ที่จะพาสาวกไปนิพพานได้ ภายใน  7 ปี  7 เดือน  7 วันเท่านั้น

อย่างไรก็ดี  เท่าที่ผมศึกษามา ผมยังไม่พบว่า มีใครในสายสติปัฏฐาน 4 จะอธิบายได้เลยว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเดียว/ทางสายเอกอย่างไร

หลักฐานที่ผมจะนำมาสนับสนุนข้อความด้านบนนั้น จะนำมาจากกระทู้ของพันธุ์ทิพย์ที่ชื่อว่า “ทางสายเดียว/ทางสายเอกอย่างไร

คุณสมาชิกหมายเลข 769319 ซึ่งเป็นผู้ตั้งกระทู้ขึ้น ได้ตั้งโจทย์อันเป็นเนื้อหาของกระทู้ ไว้ดังนี้

สายปฏิบัติธรรมแนวสติปัฏฐาน มักจะบอกว่า สติปัฏฐานเป็นทางสายเดียว หรือ ทางสายเอก ที่จะไปนิพพาน

เป็นทางสายเดียว หรือ ทางสายเอก อย่างไร เพราะมีถึง 4 หัวข้อ?

คนที่เข้ามาเป็นคนแรกเลยก็คือ คุณเฉลิมศักดิ์ 1 โดยให้ความเห็นมา 2 ความเห็นติดๆ กัน  ความเห็นแรก ก็ยกลิงก์ให้ไปอ่าน ดังนี้

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔.  หน้าที่  ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0

ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273

หลังจากนั้น คุณเฉลิมศักดิ์ 1 ก็อธิบายมาอย่างยาวเหยียด  แต่ขอยกตัวอย่างสั้นๆ นิดเดียวก่อน ดังนี้

ความคิดเห็นแรกของคุณเฉลิมศักดิ์ 1

คำว่า เอกายนมรรค กับคำว่า สติปัฏฐาน ๔ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นก็ฉันนั้น

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเอกวจนะ ก็เพราะเป็นทางเดียว ด้วยอรรถว่า เป็นมรรค เป็นพหุวจนะ ก็เพราะมีสติมาก โดยความต่างแห่งอารมณ์.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี ๔ ไม่หย่อนไม่ยิ่ง.

ตอบว่า ก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์.

แท้จริง ในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริต ทิฏฐิจริต ผู้เป็นสมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดยส่วนทั้งสอง คือ ปัญญาอ่อนและปัญญากล้า

ความคิดเห็นที่สองของคุณเฉลิมศักดิ์ 1

สติปัฏฐาน ๔ คืออะไร

สติ แปลว่า การตามระลึกรู้อารมณ์  ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้ง (ของการเพ่ง)

สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ฐาน หรือที่ตั้งอันเป็นที่รองรับของการกำหนดสติอย่างประเสริฐ เพราะเป็นการตามระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ (รูป-นาม) ที่เกิดขึ้นตามฐาน ซึ่งมี ๔ ฐานด้วยกัน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม

ผู้ใดที่มีการปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักของสติปัฏฐาน ย่อมเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาปัญญา อันเป็นปัญญาที่เข้าถึงสภาวธรรมของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ในที่สุด

ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ สามารถทำลายวิปลาสธรรม ๔ ประการได้ คือ

๑. กายานุปัสสนาสติปัฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณากาย ซึ่งเป็นรูปธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงรูปนั้นเป็นอสุภะ เป็นการทำลาย สุภวิปลาส

๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาเวทนา ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงเแล้ว นามเป็นทุกข์ เป็นการทำลาย สุขวิปลาส

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาจิต ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วนามเป็นอนิจจัง เป็นการทำลาย นิจจวิปลาส

๓. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาธรรม ซึ่งเป็นทั้งรูปธรรม และนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว รูป และนามนั้น เป็นอนัตตา เป็นการทำลาย อัตตวิปลาส

ข้อสุดท้ายนี่ คุณเฉลิมศักดิ์  1 เขียนเลขผิด  คงอยากจะลงความเห็นใจจะขาด เลยพิมพ์เลข  ๔ เป็นเลข  ๓

ที่น่าสนใจสำหรับผมก็คือ เจ้าของกระทู้ท่านตอบมาดังนี้

ผมรู้สึกว่า คุณเฉลิมศักดิ์ 1 ยังไม่ได้เข้าประเด็นในการเสวนากัน 

สติปัฏฐาน 4 คืออะไร มีความหมายอย่างไรนั้น  เราพอรู้ๆ กันอยู่แล้ว เพราะ อ่านกันมามากแล้ว
แต่ผมสงสัยว่า สติปัฏฐาน 4 เป็นทางสายเดียวอย่างไร

ที่ คุณเฉลิมศักดิ์ 1 ตอบว่า .

คำว่า เอกายนมรรค กับคำว่า สติปัฏฐาน ๔ โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นก็ฉันนั้น

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเอกวจนะ ก็เพราะเป็นทางเดียว ด้วยอรรถว่าเป็นมรรค เป็นพหุวจนะ ก็เพราะมีสติมาก โดยความต่างแห่งอารมณ์.

แล้วเป็นทางสายเดียวอย่างไร  เหมือนทางด่วน  4 แลน  หรือ คล้ายๆ ใยแก้วนำแสง

ปรากฏว่า คุณเฉลิมศักดิ์ 1 แกหนีหายไปเลย ไม่ได้ไปเข้าให้ความเห็นในกระทู้อีกเลย  เป็นเรื่องที่ผิดปรกติสำหรับคุณเฉลิมศักดิ์ 1 เขียดตะปาดผู้ยิ่งใหญ่คนนี้เป็นอย่างมาก

ท่านผู้อ่านหน้าใหม่อาจจะสงสัยว่า ผมรู้จักคุณเฉลิมศักดิ์ 1 ด้วยหรือ 

ผมก็ขอตอบว่า น่าจะรู้จัก  ก็ผมเคยอาละวาดอยู่ในพันธุ์ทิพย์หลายปีเหมือนกัน  ที่เลิกเข้าไปอาละวาดนั้น เพราะ โดนแบนนั่นแหละ

คุณเฉลิมศักดิ์  1 ท่านนี้ ท่านแม่นพระไตรปิฎกในเว็บ http://84000.org/ เป็นอย่างยิ่ง  ใครถามอะไร ปัญหาไหน แกทำลิงก์ให้ไปอ่านได้ทันควัน

รวดเร็วยิ่งกว่ากามนิตหนุ่ม ว่าอย่างนั้นเถอะ

แล้วคุณเฉลิมศักดิ์  1 ก็ไม่หนีหายไปจากกระทู้นี้ง่ายๆ  คราวนี้ ผิดปรกติมากๆ

เมื่อผมอ่านไปเรื่อยๆ ผมก็พบเหตุผลว่า ทำไมคุณเฉลิมศักดิ์ 1 ถึงหนีหายไปจากกระทู้ เพราะ ตั้งแต่ตั้งหัวข้อกระทู้มา และมีคนเข้ามาตอบหลายคน  ยังไม่มีใครอธิบายให้เข้าใจได้เลยว่า สติปัฏฐาน 4 นั้น เป็นทางสายเดียว/ทางสายเอกอย่างไร

คุณเฉลิมศักดิ์ 1 แกหมดปัญญาตอบ  แกก็พยายามรักษาหน้าของแก โดยการ “หนี” ดีกว่า ไม่เอาดีกว่า  อยู่ไปหน้าแตกแน่ๆ

เพื่อให้บทความนี้ มีน้ำหนักมากขึ้น ผมขอนำเสนอหลักฐานที่ว่า คุณเฉลิมศักดิ์ 1 แกไม่รู้ และ แกก็มั่วๆ

ลิงก์ที่คุณเฉลิมศักดิ์  1 ให้ไปนั้น  ผมเข้าไปอ่านแล้ว มีเนื้อหาที่รู้ๆ กันโดยทั่วไป ดังนี้

[๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานหนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ

แล้วที่คุณเฉลิมศักดิ์  1 อธิบายมา มันก็ไม่เหมือนกับพระสูตร  ตกลง คุณเฉลิมศักดิ์  1 แกเพี้ยน หรือแกบ้าหรือแกบ้ากันแน่






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น